วันอาทิตย์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

มังคุด













มีการนำมังคุดมาประกอบอาหารบ้าง แต่ไม่มากนัก เช่น
 มังคุดลอยแก้ว เปลือกของมังคุดมีสารให้รสฝาด คือแทนนิน แซนโทน
(โดยเฉพาะแมงโกสติน) แทนนินมีฤทธิ์ฝาดสมาน ทำให้แผลหายเร็ว 
แมงโกสตินช่วยลดอาการอักเสบและมีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดหนองได้ดี
ในทางยาสมุนไพร ใช้เปลือกมังคุดตากแห้งต้มกับน้ำหรือย่างไฟ
 ฝนกับน้ำปูนใส แก้ท้องเสีย เปลือกแห้งฝนกับน้ำปูนใส
ใช้รักษาอาการน้ำกัดเท้า แผลเปื่อย เปลือกมังคุด มีสารป้องกันเชื้อราเหมาะแก่การหมักปุ๋ย










ฝรั่งเป็นผลไม้ที่ปลูกง่าย ให้ผลดีตลอดปี มีราคาถูก ทำให้เป็นผลไม้
ไทยชนิดหนึ่งที่นิยมรับประทานกันมาก เหตุที่เรียกว่า ฝรั่ง นั้นไม่มี
หลักฐานชัดเจนแต่มีข้อสันนิษฐานว่าอาจจะเป็นเพราะชาวฝรั่งเศส
เป็นผู้นำเข้ามาในประเทศไทยหรืออาจจะเรียกเพราะเมื่อผลสุกจะมี
สีขาวนวลเหมือนคนฝรั่งฝรั่งเป็นผลไม้ที่มีวิตามินซีสูงมาก 
จึงมีผลในการป้องกันโรคขาดวิตามินซีซึ่งจะทำให้มีเลือดไหลซึมออกมา
จากบริเวณเหงือกที่เรียกว่า ลักปิดลักเปิด ฝรั่งมีวิตามิน เอ
และซี "สูงกว่ามะนาวถึง 4 เท่า" จึงมีคุณค่าในการป้องกันโรคหวัดได้ดีอิกด้วย
และนอกจากนี้ยังมี "การรับประทานฝรั่งเพื่อลดความอ้วน
" เพราะการรับประทานฝรั่ง "ไม่เพิ่มน้ำหนัก" เนื่องจากให้พลังงานต่ำ
จึงทานได้บ่อย ๆ ตามต้องการ แต่ถ้ากินมากอาจจะทำให้ท้องผูก
 ส่วนฝรั่งสุกอาจทำให้ท้องเสียได้จากคัมภีร์สรรพคุณยากล่าวไว้ว่า
ฝรั่งทั้งห้า (ดอก ผล ราก ใบ ต้น) มีรสฝาดแก้ท้องร่วง, บิด ใบ
และผลแก้ท้องเสีย, บิด, ดับกลิ่นปาก กรมอนามัยได้ทำการศึกษาพบว่า
นอกจากวิตามินเอ และซีแล้ว ฝรั่งยังมีวิตามินบี 1 บี 2 แคลเซียม
 เหล็ก ฟอสฟอรัส เพคติน แทนนิน และมีเส้นใยสูง 

ส้ม

ส้ม แอปเปิ้ล ผลไม้ 












  ส้ม
           แหล่งวิตามิน เกลือแร่ และเส้นใยธรรม-ชาติ การรับประทานส้ม
โดยไม่คายกากจะช่วยคุมน้ำหนักได้อีกวิธีหนึ่ง เพราะจะทำให้รู้สึกอิ่มท้องเร็ 
เป็นประโยชน์สำหรับคนที่ต้องการลดน้ำหนักได้อย่างดีทีเดียวค่ะ 
นอกจากนี้ หากรู้สึกหิวก่อนเวลา แทนที่จะนึกถึงเค้กก้อนโต 
หรือโดนัทชิ้นใหญ่ให้ลองหยิบส้มสักลูกเข้าปากแทนจะ
ได้ประโยชน์มากกว่าในราคาที่ถูกกว่าด้วย

แอปเปิ้ล


















แอปเปิ้ล มีสารสำคัญ คือ เบต้าแคโรทีน วิตามินซีและเส้นใยไฟเบอร์ชนิดละลายน้ำ
 ที่ชื่อ เพคติน แต่ที่น่าสนใจสำคัญคุณผู้หญิงทั้งหลายคือ เจ้าตัว 
เพคตินนี้มีคุณสมบัติช่วยลดความอยากอาหาร ลดน้ำหนัก และลดโคเลสเตอรอล 
 หากคุณหิวจนตาลาย แต่ยังไม่ถึงเวลาอาหารแอปเปิ้ลสักลูกจะช่วยลดความหิวได้
 เพราะแอปเปิ้ลมีแป้ง และน้ำตาลในรูปของน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวถึง 75 %
ทำให้ร่างกายสามารถดูดซึมน้ำตาลพิเศษชนิดนี้ได้รวดเร็วและนำไปใช้ประโยชน์ได้
 ในเวลาไม่เกิน 10 นาที
กระเทียม
รสและสรรพคุณทางยา :
รสเผ็ดร้อน เป็นยาขับลมในลำไส้ แก้กลากเกลื้อน แก้ไอ ขับเสมหะช่วยย่อยอาหาร
 ปวดฟัน ปวดหู โรคผิวหนังในตำรายาไทยให้ใช้กระเทียมและขิงสดย่างละเท่ากัน 
ตำละเอียด ละลายกับน้ำอ้อยสดคั้นน้ำจิบแก้ไอกัดเสมหะ และทำให้เสมหะแห้ง
โดยสารที่ออกฤทธิ์ เป็นยาแก้ไอ คือ allicin ซึ่งละลายน้ำได้ และถูกทำลายด้วย
ความร้อนกระเทียมรักษากลากเกลื้อน ซึ่งเป็นผลจาก allicin มีฤทธิ์ในการฆ่า
เชื้อราได้หลายชนิด ทำได้โดยการฝานกลีบกระเทียม แล้วนำมาถูบ่อยๆ หรือ
ตำคั้นเอาน้ำบริเวณที่เป็นโดยใช้ไม้เล็กๆ หรือไม้ไผ่ที่สะอาดขูดบริเวณที่เป็น
 พอให้ผิวแดงอ่อนๆ ก่อนแล้วจึงเอาน้ำกระทียมขยี้ทา ทาบ่อยๆ วันละ 3-4 ครั้ง 
เมื่อหายแล้ว ทาต่ออีก 7 วัน

คุณค่าทางอาหาร :
กระชายมีรสเผ็ดพบสมควร จึงช่วยดับกลิ่นคาวได้ นำไปปรุงกับอาหาร
ได้หลายอย่างโดยเฉพาะอาหารไทยเราเช่น แกงเลียง แกงขี้เหล็ก
ผัดเผ็ดปลาดุก ฯลฯ ในรากเหง้าของกระชายมี แคลเซียม เหล็กมาก
นอกจากนั้นยังมีเกลือแร่ต่างๆและวิตามิน เอ วิตามิน ซี อีกด้วย
วิธีใช้
ใช้กระเทียมสด 5-7 กลีบ รับประทานหลังอาหาร หรือเมื่อมีอาการท้องอืด
ท้องเฟ้อ แน่น จุกเสียด ซึ่งเป็นผลจากสารสำคัญต่างๆ ในน้ำมันหอมระเหย
allicin และ diallyl disulfideช่วยต้าน การเกิดแผลในกระเพาะอาหาร
โดยมีกลไกการออกฤทธิ์เกี่ยวข้องกับการสร้างสารprostaglandin ตามธรรมชาติ
allicin มีในหัวกระเทียมน้อยมาก ส่วนใหญ่อยู่ในรูป alliin เมื่อหั่นกระเทียม
อากาศจะทำให้ เอนไซม์ alliinase ย่อย alliin ให้เป็น allicin ซึ่งเป็นสารที่ไม่คงตัว
สลายตัวได้ง่ายโดยเฉพาะ อย่างยิ่ง เมื่อถูกความร้อน ดังนั้น กระเทียมเจีย
 กระเทียมดอง จะไม่ไห้ผลเป็นยา

กระเจี๊ยบมอญ











ประโยชน์ :
ฝักอ่อน มีคุณค่าทางอาหารสูง กินได้ ในต่างประเทศบรรจุเป็นอาหาร
กระป๋องหรืออาหารแช่แข็ง
เมล็ดแก่ มีน้ำมันมาก กากเมล็ดมีโปรตีนเหมาะสำหรับใช้เลี้ยงสัตว์
เส้นใย จากต้นใช้ทำเชือกและกระดาษ นอกจากนี้โรงงานผลิตน้ำตาล
บางแห่งในอินเดียยังนำเมือกจากต้นมาใช้ในกระบวนการทำให้น้ำอ้อยสะอาด
สำหรับการใช้ประโยชน์ทางยาแผนโบราณของจีน ราก เมล็ด
และดอกใช้เป็นยาขับปัสสาวะ

ประโยชน์ทางยา
ผลอ่อน ใช้เป็นผักจิ้มประกอบด้วยสารอาหารหลายชนิด เช่น คาร์โบไฮเดรต
 โปรตีน แคลเซียม ฟอสฟอรัส วิตามินซี และไนอาซิน
- มีสารเมือกและ เพคติน ใช้แก้โรคกระเพาะอาหาร โดยนำผลแห้งมาป่นเป็น
ผงละเอียดชงกับน้ำร้อน รับประทาน เป็นยาหล่อลื่นในโรคโกโนเรียระงับพิษ
ขับปัสสาวะ
- แก้พยาธิตัวจิ๊ด โดยเอาผลกระเจี๊ยบมอญที่ยังอ่อนมาปรุงเป็นอาหารกิน เช่น
ต้มหรือย่างไฟให้สุก จิ้มกับน้ำพริกหรือทำแกงส้ม กินวันละ ๓ เวลาทุกวัน
 วันละ ๔ - ๕ ผล ติดต่อกันอย่างน้อย ๑๕ วัน
กลีบเลี้ยง มีสารแอนโทไซยานิน และกรดอินทรีย์ ได้แก่ กรดแอสคอบิก (วิตามินซี)
กรดซีตริก กรดมาลิก และกรดทาทาริก ทำให้มีสเปรี้ยว นอกจากนี้ มีแคลเซียม
ฟอสฟอรัส แมกนีเซียม วิตามินเอ และเพคติน กลีบเลี้ยง ปรุงเป็นเครื่องดื่ม ผลไม้กวน และแยม

ถั่วฟักยาว











ประโยชน์ :
ใบ ใช้สด 60-100 กรัม ต้มกับน้ำ เป็นยารักษาโรคหนองในและปัสสาวะ
เป็นหนองเปลือกฝัก ใช้สด 100-150 กรัม ต้มกิน ใช้ภายนอกโดยการพอกตำ
จะเป็นยารักษาอาการปวดบวม ปวดตามเอว และแผลที่เต้านม
เมล็ด ใช้แห้งหรือสดต้มกินกับน้ำหรือคั้นสด จะมีรสชุ่มชื่น
เป็นยาบำรุงม้ามและไต แก้กระหายน้ำ อาเจียน ปัสสาวะกระปริบปรอย และตกขาว
ราก ใช้สดต้มกับน้ำหรือตุ๋นกินเนื้อ ใช้รักษาภายนอกโดยการพอก
 หรือนำมาเผาแล้วบดให้เป็นผงละเอียดผสมกับน้ำทา ใช้เป็นยารักษา
โรคหนองในที่มีหนองไหล บำรุงม้าม ส่วนการใช้ภายนอกนั้น
 ใช้รักษาฝีเนื้อร้ายและช่วยให้เนื้อเจริญเร็วขึ้น
สรรพคุณทางยา:
ใบ : ใช้สดประมาณ 60-100 กรัม ใช้ต้มน้ำกิน เป็นยารักษาโรคหนองใน
และปัสสาวะเป็นหนอง
เปลือกฝัก : ใช้สดประมาณ 100-150 กรัม นำมาต้มกินใช้รักษาภายนอก
โดยการตำพอก และเป็นยาระงับอาการปวดบวม ปวดตามเอว และแผลที่เต้านม
เมล็ด : ใช้แห้งหรือใช้สดประมาณ 30-60 กรัม นำมาต้มน้ำกินหรือกินสด
 จะมีรสชุ่ม เป็นยาบำรุงม้าม และไต กระหายน้ำ อาเจียน ปัสสาวะกะปริบกะปรอย และตกขาว
ราก : ใช้สดประมาณ 60-100 กรัม นำมาต้มกับน้ำ หรือตุ๋นกับเนื้อกิน
ใช้รักษาภายนอกโดยการตำพอก หรือจะนำมาเผาให้เป็นเถ้า
 แล้วบดให้เป็นผงละเอียดผสมทา หรือใช้กินเป็นยารักษาโรคหนองในที่มีหนองไหลบำรุงม้าม
รักษาบิด บำรุงม้าม ส่วนการใช้รักษาภายนอกโดยการตำพอกนั้นใช้รักษาฝีเนื้อร้าย
 และช่วยให้เนื้อเจริญเร็วขึ้น

ถั่วพลู




ประโยชน์ :
นอกจากนั้นการกินถั่วพูก็ยังมีกากใยอาหารมาก ทำให้ระบบขับถ่ายของ
เราเป็นไปอย่างปกติ ท้องไม่ผูก นอกจากนั้นแล้ว หัวของถั่วพูก็สามารถ
นำไปตากแห้งแล้วคั่วไฟให้เหลือง นำมาชงเป็นน้ำดื่มชูกำลังสำหรับ
คนป่วยหรืออ่อนเพลียง่ายได้อีกด้วย
คุณค่าทางอาหาร :
ถั่วพู 100 กรัม ให้พลังงาน 19 กิโลแคลอรี ประกอบด้วย น้ำ 93.8 กรัม
 คาร์โบไฮเดรต 2.4 กรัม โปรตีน 2.1 กรัม ไขมัน 0.1 กรัม เส้นใย 1.2 กรัม
 แคลเซียม 5 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 43 มิลลิกรัม เหล็ก 0.5 มิลลิกรัม
ไนอะซิน 0.8 มิลลิกรัม วิตามินบี1 0.35 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.14 มิลลิกรัม
วิตามินซี 32 มิลลิกรัม
สรรพคุณทางยา:
หัว ใช้บำรุงร่างกาย แก่อ่อนเพลีย แก้ร้อนใน กระหายน้ำ แก้ไข้กาฬ ราก
แก้โรคลมพิษกำเริบ ดีฟุ่ง ทำให้คลั่งเพ้อ ปวดท้อง ถั่วพูใช้รักษาสิวและโรคผิวหนังบางชนิด
ตำรายาโบราณว่า ให้นำเมล็ดถั่วพลูมาต้มโดยคัดเอาเฉพาะเมล็ดแก่สีน้ำตาลเข้ม 
จะรับประทานเมล็ดที่ต้มสุกเลยก็ได้ หรือนำเมล็ดที่ต้มสุกมาบดให้ละเอียดผสมน้ำสุก
ดื่มก่อนอาหาร เวลา จะช่วยให้สุขภาพแข็งแรง เพิ่มกำลังวังชา

วันศุกร์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2555

ผักมีประโยชน์



ประโยชน์ของผัก


1 สะเดา (Neem tree) มีเบต้าแคโรทีนสูง บำรุงสายตา เสริมระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้นอนหลับ
2 ผักกาดขาว (Chinese white cabbage) ช่วยระบบย่อยอาหาร ขับปัสสาวะ แก้ไอ มีโฟเลทสูง บำรุงคุณแม่ตั้งครรภ์
3 ต้นหอม (Shallot) มีน้ำมันหอมระเหย บรรเทาอาการหวัด มีสารฟลาโวนอยด์ต้านมะเร็ง
4 แครอท (Carrot) เบต้าแคโรทีนป้องกันโรคมะเร็ง มีแคลเซียม แพคเตท ลดระดับ คลอเลสเตอรอลได้
5 หอมหัวใหญ่ (Onion) มีสารฟลาโวนอยด์ ช่วยลดอาการของโรคหัวใจ ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
6 คะน้า (Chinese kale) มีแคลเซียมและสารต้านอนุมูลอิสระสูง ป้องกันโรคกระดูกพรุน และมะเร็ง
7 พริก (Chilli) มีแคปไซซินกระตุ้นการขยายตัวของหลอดเลือด ช่วยให้เจริญอาหาร ขับเหงื่อ
8 กระเจี๊ยบเขียว (Okra) ลดความดันโลหิต บำรุงสมอง ลดอาการกระเพาะหรือลำไส้อักเสบ
9 ผักกระเฉด(Water mimosa) ดับพิษไข้ กากใยช่วยระบบขับของเสีย เพิ่มการเผาผลาญสารอาหาร
10 ตำลึง (Ivy gourd) มีวิตามินเอสูง ดีต่อดวงตา เส้นใยจับไนเตรต ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งในกระเพาะอาหาร
11 มะระ (Chinese bitter cucumber) มีแคลเซียม ฟอสฟอรัส เป็นยาระบายอ่อน ๆ น้ำคั้นลดระดับน้ำตาลในเลือด
12 ผักบุ้ง (Water spinach) บรรเทาอาการร้อนใน มีวิตามินเอบำรุงสายตา ธาตุเหล็กบำรุงเลือด
13 ขึ้นฉ่าย (Celery) กลิ่นหอม ช่วยเจริญอาหาร มีวิตามินเอ บี และซี บำรุงสมอง ป้องกันโรคหัวใจขาดเลือด
14 เห็ด (Mushroom) แคลอรีน้อย ไขมันต่ำ มีวิตามินดีสูง ช่วยในการดูดซึมแคลเซียม เสริมกระดูกและฟัน
15 บัวบก (Indian pennywort) มีวิตามินบีสูง ช่วยให้ร่างกายผ่อนคลาย บำรุงสมองและความจำ บำรุงผิวพรรณ ลดอาการอักเสบ
16 สะระแหน่ (Kitchen mint) กลิ่นหอมเย็นของใบให้ความสดชื่น ทำให้ความคิดแจ่มใส แก้ปวดหัว
17 ชะพลู (Cha-plu) รสชาติเผ็ดเล็กน้อย แก้จุกเสียด ขับเสมหะ มีแคลเซียมสูง
18 ชะอม (Cha-om) ช่วยลดความร้อนในร่างกาย ขับลมในลำไส้ มีเส้นใยคอยจับ อนุมูลอิสระ
19 หัวปลี (Banana flower) รสฝาด แก้ร้อนใน กระหายน้ำ และบำรุงน้ำนม มีกากใย โปรตีน และวิตามินซีสูง
20 กระเทียม (Garlic) ลดไขมันในเลือด ป้องกันหัวใจขาดเลือด ใบกระเทียมมีโฟเลท เหล็ก วิตามินซีสูง
21 โหระพา (Sweet basil) น้ำมันหอมระเหยทำให้โล่งจมูก ช่วยระบายลม มีเบต้าแคโรทีน แคลเซียม
22 ขิง (Ginger) บรรเทาอาการหวัดเย็น ลดอาการคัดจมูก รสเผ็ดร้อน แก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ
23 ข่า (Galangal) น้ำมันหอมระเหย ช่วยระบบย่อยอาหารขับลม มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย และเชื้อรา
24 กระชาย (Wild ginger) บรรเทาอาการท้องอืดท้องเฟ้อ บำรุงธาตุ มีวิตามินเอและแคลเซียม
25 ถั่วพู (Winged bean) ให้คุณค่าทางอาหารสูง มีโปรตีน แคลเซียม ฟอสฟอรัส และสาร ช่วยย่อยกรดไขมันอิ่มตัว
26 ดอกขจร (Cowslip creeper) กระตุ้นให้รู้รสอาหาร ให้พลังงานสูง ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน
27 ถั่วฝักยาว (Long bean) มีเส้นใย ช่วยลดคอเลสเตอรอล มีวิตามินซี ช่วยให้ร่างกายดูดซึมธาตุเหล็ก บำรุงเลือด
28 มะเขือเทศ (Tomato) มีวิตามินเอสูง วิตามินซี รสเปรี้ยว ช่วยกระตุ้นน้ำย่อย และแก้อาการคอแห้ง
29 กะหล่ำปลี (White cabbage) มีกลูโคซิโนเลท เมื่อแตกตัวจะเป็นสารต้านมะเร็ง และมีวิตามินซีสูง
30 มะเขือพวง (Plate brush eggplant) ช่วยให้เจริญอาหารและช่วยลดความดันเลือด มีแคลเซียม และฟอสฟอรัส
31 ผักชี (Chinese paraley) ขับลม บำรุงธาตุ ช่วยย่อยอาหาร มีน้ำมันหอมระเหย แก้หวัด มีวิตามินเอและซีสูง
32 กุยช่าย (Flowering chives) มีกากใยช่วยระบายของเสีย มีธาตุเหล็กช่วยในการสร้างเม็ดเลือดแดง
33 ผักกาดหัว (Chinese radish) แก้ไอ ขับเสมหะ เพิ่มภูมิต้านทางโรค มีสารช่วยให้กระเพาะอาหารและลำไส้บีบตัวได้ดี
34 กะเพรา (Holy basil) แก้อาการจุกเสียดแน่นท้อง มีเบต้าแคโรทีนสูง ป้องกันโรคมะเร็ง และโรคหัวใจขาดเลือดได้
35 แมงลัก (Hairy basil) ช่วยย่อยอาหาร ป้องกันเลือดออกตามไรฟัน ขับลม ขับเหงื่อ
36 ดอกแค (Sesbania) กินแก้ไขช่วงที่อากาศเปลี่ยนแปลง เป็นยาระบายอ่อน ๆ มีวิตามินเอสูง บำรุงสายตา


แหล่งอ้างอิง www.greenygift.com/index.php?lay=show&ac=article&Id

น้ำผลไม้เพื่อสุขภาพ


น้ำแตงโม

ส่วนผสม
เนื้อแตงโม 50 กรัม ( 5 ช้อนคาว) 
น้ำเชื่อม 15 กรัม ( 1 ช้อนคาว) 
เกลือป่นเสริมไอโอดีน 1 กรัม (1/5ช้อนชา) 
น้ำเปล่าต้มสุก 150 กรัม (10 ช้อนคาว) 
วิธีทำ
นำเนื้อแตงโม น้ำ น้ำเชื่อม เกลือ ใส่ในเครื่องปั่น นำไปปั้นให้ละเอียด ชิมรสตามชอบ

ประโยชน์ที่ร่างกายจะได้รับ
คุณค่าทางอาหาร มีวิตามินเอ ช่วยบำรุงสายตา และวิตามินซี ช่วย ป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน
คุณค่าทางยาช่วยขับปัสสาวะ ปากเป็นแผล แก้ร้อนใน แก้ กระหายน้ำ




credit:http://board.palungjit.com/f83/%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%89-%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%9E%E0%B8%A3-%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E-17348.html

ประโยชน์ของส้มตำ

ประโยชน์ของส้มตำ
ส้มตำเป็นอาหารยอดนิยมประเภทหนึ่ง ซึ่งปฏิเสธไม่ได้เลยว่ามันมีรสชาติอร่อยและถูกปากคนไทยหลายๆ คน ทั่วทุกภาคของประเทศไทย แต่จะมีใครรู้บ้างว่านอกจากความอร่อยแล้ว ส้มตำมีประโยชน์อย่างอื่นอีกหรือไม่
ส้มตำนั้นเป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการและมีสรรพคุณทางยา คุณค่าจากพืชสมุนไพรที่เป็นองค์ประกอบในส้มตำ อาทิ
มะละกอ เป็นยานำบำรุงน้ำนม ขับพยาธิ แก้บิด แก้เลือดออกตามไรฟัน แก้ริดสีดวงทวาร ช่วยย่อยอาหาร ขับน้ำดี น้ำเหลือง
มะเขือเทศ รสเปรี้ยว เป็นผักที่ใช้แต่งสีและกลิ่นอาหาร ช่วยระบาย บำรุงผิว
มะกอกรสเปรี้ยว ฝาด หวาน แก้โรคธาตุพิการเพราะน้ำดีไม่ปกติแก้บิด แก้โรค
เลือดออกตามไรฟัน ผลสุกทำให้ชุ่มคอ แก้กระหายน้ำ
พริกขี้หนู รสเผ็ดร้อนช่วยเจริญอาหาร ขับลม ช่วยย่อย
กระเทียม รสเผ็ดร้อน ขับลมในลำไส้ แก้ไอ ขับเสมหะ ช่วยย่อยอาหาร แก้โรค
ผิวหนัง น้ำมันกระเทียมมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเชื้อรา แบคทีเรีย
และไวรัส ลดน้ำตาลในเลือด ลดไขมันในหลอดเลือด
มะนาว เปลือกผลรสขม ช่วยขับลมน้ำในลูกรสเปรี้ยวแก้เสมหะ แก้ไอ แก้เลือด
ออกตามไรฟัน ฟอกโลหิต
ผักแกล้มต่างๆ ได้แก่ ถั่วฝักยาว รสมันหวาน ช่วยกระตุ้นการทำงานของกะ
เพาะลำไส้ บำรุงธาตุดิน
กะหล่ำปลีรสจืดเย็น กระตุ้นการทำงานของกระเพาะลำไส้ บำรุงธาตุไฟ
ผักบุ้ง รสจืดเย็น ต้มกินไข้เป็นยาระบายทำให้อาเจียน เนื่องจากพิษของฝิ่นและ
สารหนู
กระถิน รสมัน แก้ท้องร่วง สมานแผล ห้ามเลือด ถ่ายพยาธิ

อาหารที่มีประโยนชน์

http://www.siamhealth.net/public_html/Health/good_health_living/diet/diet_index.htm

นี้เปงเวปที่จะแนะนำในการกินอาหารอย่างมีโยชน์ค่ะ

เมนูอาหารเพื่อสุขภาพ

                       ช่วงนี้เข้าหน้าหนาวแล้วอากาศเริ่มเย็น ดูแลสุขภาพกันหน่อยนะคะ หาเสื้อกันหนาว ผ้าพันคอสวยๆ เวลานอนก็ห่มผ้าหนาๆ ให้ร่างกายอบอุ่นนะคะ จะได้ไม่เจ็บป่วย และวันนี้เรามีเคล็ดลับอาหารบำรุงร่างกายในฤดูหนาวนี้ เพื่อสุขภาพที่ดีของทุกๆ คนนะคะ
           อาหารตามหลักการแพทย์แผนจีนในฤดูหนาวก็ คือ การรับประทานอาหารที่ช่วยให้ร่างกายมีความอบอุ่น ซึ่งจะส่งผลให้ร่างกายแข็งแรงและมีสุขภาพดีไม่เจ็บป่วยง่ายในช่วงอากาศหนาวๆ เช่น ไข้หวัด ดังนั้น เราจึงควรรักษาความสมดุลของร่างกายจากผลกระทบของลม อากาศหนาวและความชื้นด้วยอาหารประจำวัน เช่น การดื่มไวน์แดงหนึ่งแก้ว รับประทานกะหล่ำปลีม่วงหรือเนื้อแกะก็จะช่วยให้ภายในร่างกายอบอุ่น นอกจากนี้ก็ยังมีอาหารอื่นๆ สู้ลมหนาวอีก เช่น กระเทียม ฟักทอง เนื้อสัตว์ ถั่ววอลนัต และผลไม้แห้ง
1. อาหารเช้า
การรับประทานอาหารดิบๆ เช่น ผักดิบ ผลไม้ หรือผลไม้รสเปรี้ยว จะส่งผลให้ร่างกายเกิดความเย็น ซึ่งย่อมไม่ดีต่อสุขภาพในฤดูหนาวเป็นแน่ โดยเฉพาะเมื่อมือเท้าเย็น ในตอนเช้าคุณควรเริ่มต้นอาหารเช้าด้วยการรับประทานอาหารอุ่นๆ เช่น ข้าวกล้อง หรือข้าวต้มธัญพืชร้อนๆ หรือโจ๊กข้าวโอ๊ต โดยการเติมถั่วและผลไม้ลงไปต้มด้วย ก็จะเป็นการเริ่มต้นวันใหม่ที่ดีในฤดูนี้
2. อาหารกลางวัน
ควรเป็นอาหารที่ผ่านการหุงต้มร้อนๆ เพราะจะทำให้กระเพาะอาหารอบอุ่นและป้องกันหวัดได้ด้วย นอกจากนี้ ก็ควรเดิมวิตามินและเกลือแร่ให้ร่างกายด้วยผักชนิดต่างๆ เช่น ฟักทอง กะหล่ำขาว กะหล่ำม่วง แครอท มันฝรั่ง หรือมันเทศ และปรุงด้วยน้ำมันพืชกลั่นเย็น เช่น น้ำมันงา น้ำมันถั่ววอลนัต นอกจากนี้ ก็ควรรับประทานถั่วและเมล็ดพืช เช่น เมล็ดงา เป็นต้น
3. อาหารเย็น
ควรเป็นอาหารร้อนๆ เช่น จับฉ่ายจากผักหัวต่างๆ รับประทานกับข้าวกล้องหรือข้าวต้มก็ได้ เครื่องดื่มก็ควรเป็นเครื่องดื่มร้อนๆ โดยเฉพาะเครื่องดื่มสมุนไพร เช่น น้ำตะไคร้ น้ำขิง หรือดื่มไวน์แดงสักหนึ่งแก้ว
4. อาหารบำรุงร่างกายสู้ลมหนาว
- ข้าวกล้อง ข้าวโอ๊ต
- ผัก เช่น กะหล่ำเขียว กะหล่ำม่วง ต้นกระเทียม ฟักทอง หัว         
  หอมใหญ่
- เนื้่อสัตว์ เช่น เนื้อแกะ เนื้อไก่
-เครื่องเทศ เช่น ยี่หร่า ต้นหอม กระเทียม อบเชย ก้านพลู
- ถั่วเปลือกแข็ง เช่น ถั่ววอลนัต ถั่วฮาเซล ฯลฯ
- ผลไม้แห้ง เช่น ลูกเกด อินทผาลัม ผลมะเดื่อ ฯลฯ