วันอาทิตย์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

มังคุด













มีการนำมังคุดมาประกอบอาหารบ้าง แต่ไม่มากนัก เช่น
 มังคุดลอยแก้ว เปลือกของมังคุดมีสารให้รสฝาด คือแทนนิน แซนโทน
(โดยเฉพาะแมงโกสติน) แทนนินมีฤทธิ์ฝาดสมาน ทำให้แผลหายเร็ว 
แมงโกสตินช่วยลดอาการอักเสบและมีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดหนองได้ดี
ในทางยาสมุนไพร ใช้เปลือกมังคุดตากแห้งต้มกับน้ำหรือย่างไฟ
 ฝนกับน้ำปูนใส แก้ท้องเสีย เปลือกแห้งฝนกับน้ำปูนใส
ใช้รักษาอาการน้ำกัดเท้า แผลเปื่อย เปลือกมังคุด มีสารป้องกันเชื้อราเหมาะแก่การหมักปุ๋ย










ฝรั่งเป็นผลไม้ที่ปลูกง่าย ให้ผลดีตลอดปี มีราคาถูก ทำให้เป็นผลไม้
ไทยชนิดหนึ่งที่นิยมรับประทานกันมาก เหตุที่เรียกว่า ฝรั่ง นั้นไม่มี
หลักฐานชัดเจนแต่มีข้อสันนิษฐานว่าอาจจะเป็นเพราะชาวฝรั่งเศส
เป็นผู้นำเข้ามาในประเทศไทยหรืออาจจะเรียกเพราะเมื่อผลสุกจะมี
สีขาวนวลเหมือนคนฝรั่งฝรั่งเป็นผลไม้ที่มีวิตามินซีสูงมาก 
จึงมีผลในการป้องกันโรคขาดวิตามินซีซึ่งจะทำให้มีเลือดไหลซึมออกมา
จากบริเวณเหงือกที่เรียกว่า ลักปิดลักเปิด ฝรั่งมีวิตามิน เอ
และซี "สูงกว่ามะนาวถึง 4 เท่า" จึงมีคุณค่าในการป้องกันโรคหวัดได้ดีอิกด้วย
และนอกจากนี้ยังมี "การรับประทานฝรั่งเพื่อลดความอ้วน
" เพราะการรับประทานฝรั่ง "ไม่เพิ่มน้ำหนัก" เนื่องจากให้พลังงานต่ำ
จึงทานได้บ่อย ๆ ตามต้องการ แต่ถ้ากินมากอาจจะทำให้ท้องผูก
 ส่วนฝรั่งสุกอาจทำให้ท้องเสียได้จากคัมภีร์สรรพคุณยากล่าวไว้ว่า
ฝรั่งทั้งห้า (ดอก ผล ราก ใบ ต้น) มีรสฝาดแก้ท้องร่วง, บิด ใบ
และผลแก้ท้องเสีย, บิด, ดับกลิ่นปาก กรมอนามัยได้ทำการศึกษาพบว่า
นอกจากวิตามินเอ และซีแล้ว ฝรั่งยังมีวิตามินบี 1 บี 2 แคลเซียม
 เหล็ก ฟอสฟอรัส เพคติน แทนนิน และมีเส้นใยสูง 

ส้ม

ส้ม แอปเปิ้ล ผลไม้ 












  ส้ม
           แหล่งวิตามิน เกลือแร่ และเส้นใยธรรม-ชาติ การรับประทานส้ม
โดยไม่คายกากจะช่วยคุมน้ำหนักได้อีกวิธีหนึ่ง เพราะจะทำให้รู้สึกอิ่มท้องเร็ 
เป็นประโยชน์สำหรับคนที่ต้องการลดน้ำหนักได้อย่างดีทีเดียวค่ะ 
นอกจากนี้ หากรู้สึกหิวก่อนเวลา แทนที่จะนึกถึงเค้กก้อนโต 
หรือโดนัทชิ้นใหญ่ให้ลองหยิบส้มสักลูกเข้าปากแทนจะ
ได้ประโยชน์มากกว่าในราคาที่ถูกกว่าด้วย

แอปเปิ้ล


















แอปเปิ้ล มีสารสำคัญ คือ เบต้าแคโรทีน วิตามินซีและเส้นใยไฟเบอร์ชนิดละลายน้ำ
 ที่ชื่อ เพคติน แต่ที่น่าสนใจสำคัญคุณผู้หญิงทั้งหลายคือ เจ้าตัว 
เพคตินนี้มีคุณสมบัติช่วยลดความอยากอาหาร ลดน้ำหนัก และลดโคเลสเตอรอล 
 หากคุณหิวจนตาลาย แต่ยังไม่ถึงเวลาอาหารแอปเปิ้ลสักลูกจะช่วยลดความหิวได้
 เพราะแอปเปิ้ลมีแป้ง และน้ำตาลในรูปของน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวถึง 75 %
ทำให้ร่างกายสามารถดูดซึมน้ำตาลพิเศษชนิดนี้ได้รวดเร็วและนำไปใช้ประโยชน์ได้
 ในเวลาไม่เกิน 10 นาที
กระเทียม
รสและสรรพคุณทางยา :
รสเผ็ดร้อน เป็นยาขับลมในลำไส้ แก้กลากเกลื้อน แก้ไอ ขับเสมหะช่วยย่อยอาหาร
 ปวดฟัน ปวดหู โรคผิวหนังในตำรายาไทยให้ใช้กระเทียมและขิงสดย่างละเท่ากัน 
ตำละเอียด ละลายกับน้ำอ้อยสดคั้นน้ำจิบแก้ไอกัดเสมหะ และทำให้เสมหะแห้ง
โดยสารที่ออกฤทธิ์ เป็นยาแก้ไอ คือ allicin ซึ่งละลายน้ำได้ และถูกทำลายด้วย
ความร้อนกระเทียมรักษากลากเกลื้อน ซึ่งเป็นผลจาก allicin มีฤทธิ์ในการฆ่า
เชื้อราได้หลายชนิด ทำได้โดยการฝานกลีบกระเทียม แล้วนำมาถูบ่อยๆ หรือ
ตำคั้นเอาน้ำบริเวณที่เป็นโดยใช้ไม้เล็กๆ หรือไม้ไผ่ที่สะอาดขูดบริเวณที่เป็น
 พอให้ผิวแดงอ่อนๆ ก่อนแล้วจึงเอาน้ำกระทียมขยี้ทา ทาบ่อยๆ วันละ 3-4 ครั้ง 
เมื่อหายแล้ว ทาต่ออีก 7 วัน

คุณค่าทางอาหาร :
กระชายมีรสเผ็ดพบสมควร จึงช่วยดับกลิ่นคาวได้ นำไปปรุงกับอาหาร
ได้หลายอย่างโดยเฉพาะอาหารไทยเราเช่น แกงเลียง แกงขี้เหล็ก
ผัดเผ็ดปลาดุก ฯลฯ ในรากเหง้าของกระชายมี แคลเซียม เหล็กมาก
นอกจากนั้นยังมีเกลือแร่ต่างๆและวิตามิน เอ วิตามิน ซี อีกด้วย
วิธีใช้
ใช้กระเทียมสด 5-7 กลีบ รับประทานหลังอาหาร หรือเมื่อมีอาการท้องอืด
ท้องเฟ้อ แน่น จุกเสียด ซึ่งเป็นผลจากสารสำคัญต่างๆ ในน้ำมันหอมระเหย
allicin และ diallyl disulfideช่วยต้าน การเกิดแผลในกระเพาะอาหาร
โดยมีกลไกการออกฤทธิ์เกี่ยวข้องกับการสร้างสารprostaglandin ตามธรรมชาติ
allicin มีในหัวกระเทียมน้อยมาก ส่วนใหญ่อยู่ในรูป alliin เมื่อหั่นกระเทียม
อากาศจะทำให้ เอนไซม์ alliinase ย่อย alliin ให้เป็น allicin ซึ่งเป็นสารที่ไม่คงตัว
สลายตัวได้ง่ายโดยเฉพาะ อย่างยิ่ง เมื่อถูกความร้อน ดังนั้น กระเทียมเจีย
 กระเทียมดอง จะไม่ไห้ผลเป็นยา

กระเจี๊ยบมอญ











ประโยชน์ :
ฝักอ่อน มีคุณค่าทางอาหารสูง กินได้ ในต่างประเทศบรรจุเป็นอาหาร
กระป๋องหรืออาหารแช่แข็ง
เมล็ดแก่ มีน้ำมันมาก กากเมล็ดมีโปรตีนเหมาะสำหรับใช้เลี้ยงสัตว์
เส้นใย จากต้นใช้ทำเชือกและกระดาษ นอกจากนี้โรงงานผลิตน้ำตาล
บางแห่งในอินเดียยังนำเมือกจากต้นมาใช้ในกระบวนการทำให้น้ำอ้อยสะอาด
สำหรับการใช้ประโยชน์ทางยาแผนโบราณของจีน ราก เมล็ด
และดอกใช้เป็นยาขับปัสสาวะ

ประโยชน์ทางยา
ผลอ่อน ใช้เป็นผักจิ้มประกอบด้วยสารอาหารหลายชนิด เช่น คาร์โบไฮเดรต
 โปรตีน แคลเซียม ฟอสฟอรัส วิตามินซี และไนอาซิน
- มีสารเมือกและ เพคติน ใช้แก้โรคกระเพาะอาหาร โดยนำผลแห้งมาป่นเป็น
ผงละเอียดชงกับน้ำร้อน รับประทาน เป็นยาหล่อลื่นในโรคโกโนเรียระงับพิษ
ขับปัสสาวะ
- แก้พยาธิตัวจิ๊ด โดยเอาผลกระเจี๊ยบมอญที่ยังอ่อนมาปรุงเป็นอาหารกิน เช่น
ต้มหรือย่างไฟให้สุก จิ้มกับน้ำพริกหรือทำแกงส้ม กินวันละ ๓ เวลาทุกวัน
 วันละ ๔ - ๕ ผล ติดต่อกันอย่างน้อย ๑๕ วัน
กลีบเลี้ยง มีสารแอนโทไซยานิน และกรดอินทรีย์ ได้แก่ กรดแอสคอบิก (วิตามินซี)
กรดซีตริก กรดมาลิก และกรดทาทาริก ทำให้มีสเปรี้ยว นอกจากนี้ มีแคลเซียม
ฟอสฟอรัส แมกนีเซียม วิตามินเอ และเพคติน กลีบเลี้ยง ปรุงเป็นเครื่องดื่ม ผลไม้กวน และแยม

ถั่วฟักยาว











ประโยชน์ :
ใบ ใช้สด 60-100 กรัม ต้มกับน้ำ เป็นยารักษาโรคหนองในและปัสสาวะ
เป็นหนองเปลือกฝัก ใช้สด 100-150 กรัม ต้มกิน ใช้ภายนอกโดยการพอกตำ
จะเป็นยารักษาอาการปวดบวม ปวดตามเอว และแผลที่เต้านม
เมล็ด ใช้แห้งหรือสดต้มกินกับน้ำหรือคั้นสด จะมีรสชุ่มชื่น
เป็นยาบำรุงม้ามและไต แก้กระหายน้ำ อาเจียน ปัสสาวะกระปริบปรอย และตกขาว
ราก ใช้สดต้มกับน้ำหรือตุ๋นกินเนื้อ ใช้รักษาภายนอกโดยการพอก
 หรือนำมาเผาแล้วบดให้เป็นผงละเอียดผสมกับน้ำทา ใช้เป็นยารักษา
โรคหนองในที่มีหนองไหล บำรุงม้าม ส่วนการใช้ภายนอกนั้น
 ใช้รักษาฝีเนื้อร้ายและช่วยให้เนื้อเจริญเร็วขึ้น
สรรพคุณทางยา:
ใบ : ใช้สดประมาณ 60-100 กรัม ใช้ต้มน้ำกิน เป็นยารักษาโรคหนองใน
และปัสสาวะเป็นหนอง
เปลือกฝัก : ใช้สดประมาณ 100-150 กรัม นำมาต้มกินใช้รักษาภายนอก
โดยการตำพอก และเป็นยาระงับอาการปวดบวม ปวดตามเอว และแผลที่เต้านม
เมล็ด : ใช้แห้งหรือใช้สดประมาณ 30-60 กรัม นำมาต้มน้ำกินหรือกินสด
 จะมีรสชุ่ม เป็นยาบำรุงม้าม และไต กระหายน้ำ อาเจียน ปัสสาวะกะปริบกะปรอย และตกขาว
ราก : ใช้สดประมาณ 60-100 กรัม นำมาต้มกับน้ำ หรือตุ๋นกับเนื้อกิน
ใช้รักษาภายนอกโดยการตำพอก หรือจะนำมาเผาให้เป็นเถ้า
 แล้วบดให้เป็นผงละเอียดผสมทา หรือใช้กินเป็นยารักษาโรคหนองในที่มีหนองไหลบำรุงม้าม
รักษาบิด บำรุงม้าม ส่วนการใช้รักษาภายนอกโดยการตำพอกนั้นใช้รักษาฝีเนื้อร้าย
 และช่วยให้เนื้อเจริญเร็วขึ้น

ถั่วพลู




ประโยชน์ :
นอกจากนั้นการกินถั่วพูก็ยังมีกากใยอาหารมาก ทำให้ระบบขับถ่ายของ
เราเป็นไปอย่างปกติ ท้องไม่ผูก นอกจากนั้นแล้ว หัวของถั่วพูก็สามารถ
นำไปตากแห้งแล้วคั่วไฟให้เหลือง นำมาชงเป็นน้ำดื่มชูกำลังสำหรับ
คนป่วยหรืออ่อนเพลียง่ายได้อีกด้วย
คุณค่าทางอาหาร :
ถั่วพู 100 กรัม ให้พลังงาน 19 กิโลแคลอรี ประกอบด้วย น้ำ 93.8 กรัม
 คาร์โบไฮเดรต 2.4 กรัม โปรตีน 2.1 กรัม ไขมัน 0.1 กรัม เส้นใย 1.2 กรัม
 แคลเซียม 5 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 43 มิลลิกรัม เหล็ก 0.5 มิลลิกรัม
ไนอะซิน 0.8 มิลลิกรัม วิตามินบี1 0.35 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.14 มิลลิกรัม
วิตามินซี 32 มิลลิกรัม
สรรพคุณทางยา:
หัว ใช้บำรุงร่างกาย แก่อ่อนเพลีย แก้ร้อนใน กระหายน้ำ แก้ไข้กาฬ ราก
แก้โรคลมพิษกำเริบ ดีฟุ่ง ทำให้คลั่งเพ้อ ปวดท้อง ถั่วพูใช้รักษาสิวและโรคผิวหนังบางชนิด
ตำรายาโบราณว่า ให้นำเมล็ดถั่วพลูมาต้มโดยคัดเอาเฉพาะเมล็ดแก่สีน้ำตาลเข้ม 
จะรับประทานเมล็ดที่ต้มสุกเลยก็ได้ หรือนำเมล็ดที่ต้มสุกมาบดให้ละเอียดผสมน้ำสุก
ดื่มก่อนอาหาร เวลา จะช่วยให้สุขภาพแข็งแรง เพิ่มกำลังวังชา