วันศุกร์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2555

ผักมีประโยชน์



ประโยชน์ของผัก


1 สะเดา (Neem tree) มีเบต้าแคโรทีนสูง บำรุงสายตา เสริมระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้นอนหลับ
2 ผักกาดขาว (Chinese white cabbage) ช่วยระบบย่อยอาหาร ขับปัสสาวะ แก้ไอ มีโฟเลทสูง บำรุงคุณแม่ตั้งครรภ์
3 ต้นหอม (Shallot) มีน้ำมันหอมระเหย บรรเทาอาการหวัด มีสารฟลาโวนอยด์ต้านมะเร็ง
4 แครอท (Carrot) เบต้าแคโรทีนป้องกันโรคมะเร็ง มีแคลเซียม แพคเตท ลดระดับ คลอเลสเตอรอลได้
5 หอมหัวใหญ่ (Onion) มีสารฟลาโวนอยด์ ช่วยลดอาการของโรคหัวใจ ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
6 คะน้า (Chinese kale) มีแคลเซียมและสารต้านอนุมูลอิสระสูง ป้องกันโรคกระดูกพรุน และมะเร็ง
7 พริก (Chilli) มีแคปไซซินกระตุ้นการขยายตัวของหลอดเลือด ช่วยให้เจริญอาหาร ขับเหงื่อ
8 กระเจี๊ยบเขียว (Okra) ลดความดันโลหิต บำรุงสมอง ลดอาการกระเพาะหรือลำไส้อักเสบ
9 ผักกระเฉด(Water mimosa) ดับพิษไข้ กากใยช่วยระบบขับของเสีย เพิ่มการเผาผลาญสารอาหาร
10 ตำลึง (Ivy gourd) มีวิตามินเอสูง ดีต่อดวงตา เส้นใยจับไนเตรต ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งในกระเพาะอาหาร
11 มะระ (Chinese bitter cucumber) มีแคลเซียม ฟอสฟอรัส เป็นยาระบายอ่อน ๆ น้ำคั้นลดระดับน้ำตาลในเลือด
12 ผักบุ้ง (Water spinach) บรรเทาอาการร้อนใน มีวิตามินเอบำรุงสายตา ธาตุเหล็กบำรุงเลือด
13 ขึ้นฉ่าย (Celery) กลิ่นหอม ช่วยเจริญอาหาร มีวิตามินเอ บี และซี บำรุงสมอง ป้องกันโรคหัวใจขาดเลือด
14 เห็ด (Mushroom) แคลอรีน้อย ไขมันต่ำ มีวิตามินดีสูง ช่วยในการดูดซึมแคลเซียม เสริมกระดูกและฟัน
15 บัวบก (Indian pennywort) มีวิตามินบีสูง ช่วยให้ร่างกายผ่อนคลาย บำรุงสมองและความจำ บำรุงผิวพรรณ ลดอาการอักเสบ
16 สะระแหน่ (Kitchen mint) กลิ่นหอมเย็นของใบให้ความสดชื่น ทำให้ความคิดแจ่มใส แก้ปวดหัว
17 ชะพลู (Cha-plu) รสชาติเผ็ดเล็กน้อย แก้จุกเสียด ขับเสมหะ มีแคลเซียมสูง
18 ชะอม (Cha-om) ช่วยลดความร้อนในร่างกาย ขับลมในลำไส้ มีเส้นใยคอยจับ อนุมูลอิสระ
19 หัวปลี (Banana flower) รสฝาด แก้ร้อนใน กระหายน้ำ และบำรุงน้ำนม มีกากใย โปรตีน และวิตามินซีสูง
20 กระเทียม (Garlic) ลดไขมันในเลือด ป้องกันหัวใจขาดเลือด ใบกระเทียมมีโฟเลท เหล็ก วิตามินซีสูง
21 โหระพา (Sweet basil) น้ำมันหอมระเหยทำให้โล่งจมูก ช่วยระบายลม มีเบต้าแคโรทีน แคลเซียม
22 ขิง (Ginger) บรรเทาอาการหวัดเย็น ลดอาการคัดจมูก รสเผ็ดร้อน แก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ
23 ข่า (Galangal) น้ำมันหอมระเหย ช่วยระบบย่อยอาหารขับลม มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย และเชื้อรา
24 กระชาย (Wild ginger) บรรเทาอาการท้องอืดท้องเฟ้อ บำรุงธาตุ มีวิตามินเอและแคลเซียม
25 ถั่วพู (Winged bean) ให้คุณค่าทางอาหารสูง มีโปรตีน แคลเซียม ฟอสฟอรัส และสาร ช่วยย่อยกรดไขมันอิ่มตัว
26 ดอกขจร (Cowslip creeper) กระตุ้นให้รู้รสอาหาร ให้พลังงานสูง ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน
27 ถั่วฝักยาว (Long bean) มีเส้นใย ช่วยลดคอเลสเตอรอล มีวิตามินซี ช่วยให้ร่างกายดูดซึมธาตุเหล็ก บำรุงเลือด
28 มะเขือเทศ (Tomato) มีวิตามินเอสูง วิตามินซี รสเปรี้ยว ช่วยกระตุ้นน้ำย่อย และแก้อาการคอแห้ง
29 กะหล่ำปลี (White cabbage) มีกลูโคซิโนเลท เมื่อแตกตัวจะเป็นสารต้านมะเร็ง และมีวิตามินซีสูง
30 มะเขือพวง (Plate brush eggplant) ช่วยให้เจริญอาหารและช่วยลดความดันเลือด มีแคลเซียม และฟอสฟอรัส
31 ผักชี (Chinese paraley) ขับลม บำรุงธาตุ ช่วยย่อยอาหาร มีน้ำมันหอมระเหย แก้หวัด มีวิตามินเอและซีสูง
32 กุยช่าย (Flowering chives) มีกากใยช่วยระบายของเสีย มีธาตุเหล็กช่วยในการสร้างเม็ดเลือดแดง
33 ผักกาดหัว (Chinese radish) แก้ไอ ขับเสมหะ เพิ่มภูมิต้านทางโรค มีสารช่วยให้กระเพาะอาหารและลำไส้บีบตัวได้ดี
34 กะเพรา (Holy basil) แก้อาการจุกเสียดแน่นท้อง มีเบต้าแคโรทีนสูง ป้องกันโรคมะเร็ง และโรคหัวใจขาดเลือดได้
35 แมงลัก (Hairy basil) ช่วยย่อยอาหาร ป้องกันเลือดออกตามไรฟัน ขับลม ขับเหงื่อ
36 ดอกแค (Sesbania) กินแก้ไขช่วงที่อากาศเปลี่ยนแปลง เป็นยาระบายอ่อน ๆ มีวิตามินเอสูง บำรุงสายตา


แหล่งอ้างอิง www.greenygift.com/index.php?lay=show&ac=article&Id

น้ำผลไม้เพื่อสุขภาพ


น้ำแตงโม

ส่วนผสม
เนื้อแตงโม 50 กรัม ( 5 ช้อนคาว) 
น้ำเชื่อม 15 กรัม ( 1 ช้อนคาว) 
เกลือป่นเสริมไอโอดีน 1 กรัม (1/5ช้อนชา) 
น้ำเปล่าต้มสุก 150 กรัม (10 ช้อนคาว) 
วิธีทำ
นำเนื้อแตงโม น้ำ น้ำเชื่อม เกลือ ใส่ในเครื่องปั่น นำไปปั้นให้ละเอียด ชิมรสตามชอบ

ประโยชน์ที่ร่างกายจะได้รับ
คุณค่าทางอาหาร มีวิตามินเอ ช่วยบำรุงสายตา และวิตามินซี ช่วย ป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน
คุณค่าทางยาช่วยขับปัสสาวะ ปากเป็นแผล แก้ร้อนใน แก้ กระหายน้ำ




credit:http://board.palungjit.com/f83/%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%89-%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%9E%E0%B8%A3-%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E-17348.html

ประโยชน์ของส้มตำ

ประโยชน์ของส้มตำ
ส้มตำเป็นอาหารยอดนิยมประเภทหนึ่ง ซึ่งปฏิเสธไม่ได้เลยว่ามันมีรสชาติอร่อยและถูกปากคนไทยหลายๆ คน ทั่วทุกภาคของประเทศไทย แต่จะมีใครรู้บ้างว่านอกจากความอร่อยแล้ว ส้มตำมีประโยชน์อย่างอื่นอีกหรือไม่
ส้มตำนั้นเป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการและมีสรรพคุณทางยา คุณค่าจากพืชสมุนไพรที่เป็นองค์ประกอบในส้มตำ อาทิ
มะละกอ เป็นยานำบำรุงน้ำนม ขับพยาธิ แก้บิด แก้เลือดออกตามไรฟัน แก้ริดสีดวงทวาร ช่วยย่อยอาหาร ขับน้ำดี น้ำเหลือง
มะเขือเทศ รสเปรี้ยว เป็นผักที่ใช้แต่งสีและกลิ่นอาหาร ช่วยระบาย บำรุงผิว
มะกอกรสเปรี้ยว ฝาด หวาน แก้โรคธาตุพิการเพราะน้ำดีไม่ปกติแก้บิด แก้โรค
เลือดออกตามไรฟัน ผลสุกทำให้ชุ่มคอ แก้กระหายน้ำ
พริกขี้หนู รสเผ็ดร้อนช่วยเจริญอาหาร ขับลม ช่วยย่อย
กระเทียม รสเผ็ดร้อน ขับลมในลำไส้ แก้ไอ ขับเสมหะ ช่วยย่อยอาหาร แก้โรค
ผิวหนัง น้ำมันกระเทียมมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเชื้อรา แบคทีเรีย
และไวรัส ลดน้ำตาลในเลือด ลดไขมันในหลอดเลือด
มะนาว เปลือกผลรสขม ช่วยขับลมน้ำในลูกรสเปรี้ยวแก้เสมหะ แก้ไอ แก้เลือด
ออกตามไรฟัน ฟอกโลหิต
ผักแกล้มต่างๆ ได้แก่ ถั่วฝักยาว รสมันหวาน ช่วยกระตุ้นการทำงานของกะ
เพาะลำไส้ บำรุงธาตุดิน
กะหล่ำปลีรสจืดเย็น กระตุ้นการทำงานของกระเพาะลำไส้ บำรุงธาตุไฟ
ผักบุ้ง รสจืดเย็น ต้มกินไข้เป็นยาระบายทำให้อาเจียน เนื่องจากพิษของฝิ่นและ
สารหนู
กระถิน รสมัน แก้ท้องร่วง สมานแผล ห้ามเลือด ถ่ายพยาธิ

อาหารที่มีประโยนชน์

http://www.siamhealth.net/public_html/Health/good_health_living/diet/diet_index.htm

นี้เปงเวปที่จะแนะนำในการกินอาหารอย่างมีโยชน์ค่ะ

เมนูอาหารเพื่อสุขภาพ

                       ช่วงนี้เข้าหน้าหนาวแล้วอากาศเริ่มเย็น ดูแลสุขภาพกันหน่อยนะคะ หาเสื้อกันหนาว ผ้าพันคอสวยๆ เวลานอนก็ห่มผ้าหนาๆ ให้ร่างกายอบอุ่นนะคะ จะได้ไม่เจ็บป่วย และวันนี้เรามีเคล็ดลับอาหารบำรุงร่างกายในฤดูหนาวนี้ เพื่อสุขภาพที่ดีของทุกๆ คนนะคะ
           อาหารตามหลักการแพทย์แผนจีนในฤดูหนาวก็ คือ การรับประทานอาหารที่ช่วยให้ร่างกายมีความอบอุ่น ซึ่งจะส่งผลให้ร่างกายแข็งแรงและมีสุขภาพดีไม่เจ็บป่วยง่ายในช่วงอากาศหนาวๆ เช่น ไข้หวัด ดังนั้น เราจึงควรรักษาความสมดุลของร่างกายจากผลกระทบของลม อากาศหนาวและความชื้นด้วยอาหารประจำวัน เช่น การดื่มไวน์แดงหนึ่งแก้ว รับประทานกะหล่ำปลีม่วงหรือเนื้อแกะก็จะช่วยให้ภายในร่างกายอบอุ่น นอกจากนี้ก็ยังมีอาหารอื่นๆ สู้ลมหนาวอีก เช่น กระเทียม ฟักทอง เนื้อสัตว์ ถั่ววอลนัต และผลไม้แห้ง
1. อาหารเช้า
การรับประทานอาหารดิบๆ เช่น ผักดิบ ผลไม้ หรือผลไม้รสเปรี้ยว จะส่งผลให้ร่างกายเกิดความเย็น ซึ่งย่อมไม่ดีต่อสุขภาพในฤดูหนาวเป็นแน่ โดยเฉพาะเมื่อมือเท้าเย็น ในตอนเช้าคุณควรเริ่มต้นอาหารเช้าด้วยการรับประทานอาหารอุ่นๆ เช่น ข้าวกล้อง หรือข้าวต้มธัญพืชร้อนๆ หรือโจ๊กข้าวโอ๊ต โดยการเติมถั่วและผลไม้ลงไปต้มด้วย ก็จะเป็นการเริ่มต้นวันใหม่ที่ดีในฤดูนี้
2. อาหารกลางวัน
ควรเป็นอาหารที่ผ่านการหุงต้มร้อนๆ เพราะจะทำให้กระเพาะอาหารอบอุ่นและป้องกันหวัดได้ด้วย นอกจากนี้ ก็ควรเดิมวิตามินและเกลือแร่ให้ร่างกายด้วยผักชนิดต่างๆ เช่น ฟักทอง กะหล่ำขาว กะหล่ำม่วง แครอท มันฝรั่ง หรือมันเทศ และปรุงด้วยน้ำมันพืชกลั่นเย็น เช่น น้ำมันงา น้ำมันถั่ววอลนัต นอกจากนี้ ก็ควรรับประทานถั่วและเมล็ดพืช เช่น เมล็ดงา เป็นต้น
3. อาหารเย็น
ควรเป็นอาหารร้อนๆ เช่น จับฉ่ายจากผักหัวต่างๆ รับประทานกับข้าวกล้องหรือข้าวต้มก็ได้ เครื่องดื่มก็ควรเป็นเครื่องดื่มร้อนๆ โดยเฉพาะเครื่องดื่มสมุนไพร เช่น น้ำตะไคร้ น้ำขิง หรือดื่มไวน์แดงสักหนึ่งแก้ว
4. อาหารบำรุงร่างกายสู้ลมหนาว
- ข้าวกล้อง ข้าวโอ๊ต
- ผัก เช่น กะหล่ำเขียว กะหล่ำม่วง ต้นกระเทียม ฟักทอง หัว         
  หอมใหญ่
- เนื้่อสัตว์ เช่น เนื้อแกะ เนื้อไก่
-เครื่องเทศ เช่น ยี่หร่า ต้นหอม กระเทียม อบเชย ก้านพลู
- ถั่วเปลือกแข็ง เช่น ถั่ววอลนัต ถั่วฮาเซล ฯลฯ
- ผลไม้แห้ง เช่น ลูกเกด อินทผาลัม ผลมะเดื่อ ฯลฯ